วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การเขียนเว็บเพจ




อินเทอร์เน็ต คือ ระบบที่ต่อคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทั่วโลกนับร้อยนับพันล้านเครื่องเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่ง
ข้อมูลหากันได้ ทำให้เกิดบริการต่างๆขึ้นมา เช่น อีเมล์ , การสนทนาออนไลน์ (VoIP) , Chat , การส่งไฟล์หากัน และที่เราใช้งานกันอยู่เป็นประจำคือ
เว็บ
อินเทอร์เน็ต มีต้นกำหนดจากการที่สหภาพโซเวียต USSR สามารถปล่อยดาวเทียมชื่อ Sputnik สู่อวกาศได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการกดดันให้
สหรัฐอเมริกา ต้องสร้างหน่วยงานชื่อ Advanced Research Projects Agency (ARPA) สังกัดกระทรวงกลาโหม ในปี 1958 เพื่อกลับมาเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงาน ARPA นี่เองที่ทำให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ในปี 1969 โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ต่อมาก็ถูกนำมาใช้ในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมต่อระหว่างมหาลัย 4 แห่ง คือ University of California
at Los Angeles ,University of California at Santa Barbara , Stanford Research Institute และ University
of Utah และได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เกิดเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน

การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เราจำเป็นต้องตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเหมือนกับชื่อของคน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ด้วยกันรู้ว่าเราต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายกันแน่ ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำให้ต้องใช้ระบบ TCP/IP เพื่อให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ชื่ออะไรกันแน่ โดยจะให้ตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน เช่น 202.143.146.68 แทนชื่อของคอมพิวเตอร์นั่นเอง






Web server ความจริงแล้วมีความหมายอยู่ 2 อย่างคือ
1. เป็นโปรแกรม ที่คอยให้บริการในการส่งข้อมูล ต่างโดยใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP)
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงในส่วนนี้กัน

จากที่เราทราบอยู่แล้วว่าอินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลาว่า Host
หรือ เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะทำหน้าที่คอยให้บริการ (service) จ่ายข้อมูลต่างๆ ทำให้บางครั้งเราก็เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้ว่า Server ซึ่ง Server
ของเราเน้นให้บริการเกี่ยวกับเว็บ เราจึงเรียกว่า Web server
ซึ่งในการทำงานเกี่ยวกับเว็บตัว Web server ก็จะส่งข้อมูล (Web page) ที่เราได้สร้างขึ้นมาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ขอข้อมูล
เช่นเมื่อเราพิมพ์ http://www.chonnfe.com ผ่านโปรแกรม Web browser จากนั้น Web browser ก็จะหาข้อมูลว่าเครื่องใดที่เป็น
Web server ของ http://www.chonnfe.com และเมื่อเจอเครื่องนั้นแล้วก็จะเปิดไฟล์ home page (index) ขึ้นมาแสดงผู้เรียนอาจเคย
ได้ยินชื่อ Web hosting กันบ้างซึ่งเราอาจหมายถึงผู้ที่ให้บริการให้เช่า server นั่นเอง




Domain name (ยกตัวอย่างเช่น http://www.chonnfe.com) เปรียบเสมือนทะเบียนบ้านของเรา ซึ่งจะบอกให้คนอื่นเข้ามาที่บ้านของเราถูกต้อง ดังนั้นจึงซ้ำกันไม่ได้ ในบทนี้เราจะมาดูรายละเอียดของ Domain name กัน
จากเนื้อหาที่ผ่านๆมาทำให้เราทราบว่าคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Web server ก็อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ซึ่งการติดต่อกันต้องใช้ IP แทนชื่อของคอมพิวเตอร์แต่ละตัว แล้ว Domain name ละเกี่ยวอะไรด้วย
ความจริงแล้ว Domain name ก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่งเราอาจจะลองพิมพ์ 72.14.235.147 แทนการพิมพ์ http://www.google.co.th ก็สามารถเปิดเว็บ google ได้เช่นเดียวกัน เหตุที่เราต้องใช้ Domain name แทน IP Address เพราะว่า
1. จำได้ง่ายกว่า
2. สามารถสื่อความหมายได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร
3. เมื่อผู้เรียนย้าย Web server ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ Domain name

เราอาจงงว่าทำไมเปลี่ยน server แล้วทำไมถึงไม่ต้องเปลี่ยน Domain name เพราะว่า IP address ของเครื่องเปลี่ยน Domain name ก็ต้องเปลี่ยนด้วยสิ ซึ่งจริงแล้วนั้น Domain name เป็นชื่อที่ถูกเก็บไว้ที่ DNS server ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลไม่ให้ชื่อ domain name ซ้ำกัน เหมือนกับ
ทะเบียนบ้านนั่นเอง ซึ่งผู้ดูแลจะรับหน้าที่ในการจด domain name ให้เราโดยเราจะต้องเสียค่าบริการให้กับผู้ดูแลเป็นรายปี ซึ่งผู้ดูแลจะนำชื่อ Domain name
ของเราไปเก็บไว้ที่ DNS server เมื่อมีการเรียกใช้ก็จะบอก IP Address ของเครื่อง Web server ของเราไป ยกตัวอย่าง
เราใช้ Web brower ในการเปิดเว็บ http://www.chonnfe.com Web browser ของเราก็จะส่งข้อมูลไปขอ IP address ของชื่อ
http://www.chonnfe.com จาก DNS server ต่อจากนั้น DNS server ก็จะส่ง IP address ของ Web server เว็บ
http://www.chonnfe.com มาให้ Web browser หลังจากนั้นก็จะทำการติดต่อกับ Web server เพื่อให้ส่งไฟล์มาให้เราต่อไป
โครงสร้างของ domain name เป็นดังนี้
http://www.banbung.chonnfe.com/
โครงสร้างประกอบด้วย 3 ระดับดังนี้
1. โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) ตามตัวอย่างคือส่วน .com
2. โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) ตามตัวอย่างคือ banbung
3. โดเมนย่อย (Sub domain) ตามตัวอย่างคือ sub

โดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่ม ดังนี้
.mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา
.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล
.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย
.edu แทนสถาบันการศึกษา
.org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร
.xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ เช่น .th หมายถึงประเทศไทย

หมายเหตุ คำอ่าน เช่น .com อ่านว่า dot (ดอท) com(คอม) เราไม่อ่านว่า จุด-คอม

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ
.firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
.store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า
.Web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ
.arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม
.rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ
.info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล
.nom สำหรับบุคคลทั่วไป




FTP เป็นโปรโตรคอลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายไฟล์ ซึ่งจำเป็นมากในการทำเว็บ เพราะอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าเว็บของเรานั้นประกอบได้ไฟล์ ต่างๆ
มากมาย เช่น ไฟล์ภาพ , ไฟล์ html และอีกมากมายซึ่งเราจำเป็นจะต้องย้ายไฟล์เหล่านั้นไปที่ Web server ของเรา ซึ่งถ้าเราใช้ FTP
เราก็เปิดโปรแกรมขึ้นมาและย้ายไฟล์จากเครื่องของเราไปที่โปรแกรม FTP จากนั้นโปรแกรมก็จะส่งไฟล์ไปที่ Web server ของเราอัตโนมัติ




HTML (Hypertext Markup Language) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพ็จ เพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด
ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag)
ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE, Netscape, Opera ฯลฯ




ที่มา www.googlecom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น