วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการเก็บเด็ก

v E 1 : Education หรือ การให้การศึกษา ให้ข้อมูล ให้เหตุผลประกอบที่ครบถ้วนรอบด้านเพื่อเป็นทางเลือกการตัดสินใจในการปรับพฤติกรรมด้วยตนเอง เช่น ในกรณีของการห้ามนั้น ผู้ห้ามโดยเฉพาะผู้ใหญ่มักมีเจตนาที่ดี แต่มักจะไม่บอกเหตุผล เช่น ห้ามผมยาว ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามมีแฟน ฯลฯ แต่ฝ่ายที่ถูกห้ามมักจะเกิดความคับข้องใจและมักจะตอบโต้ด้วยการเพิกเฉยและฝ่าฝืน หากเรามีการให้เหตุผลประกอบ การตอบโต้เชิงลบจะลดลง เช่น ห้ามสูบบุหรี่เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไปก่อความรำคาญแก่คนรอบข้าง หรือให้ข้อมูลด้านสุขภาพประกอบ ห้ามเข้าห้องเรียนสายเกินกว่า 15 นาที เนื่องจากทำให้ครูและเพื่อนต้องรอและเสียสมาธิ หรือจะทำให้ได้เนื้อหาไม่ครบถ้วนเนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ เป็นต้น หลักการพื้นฐานของการใช้ E1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน สร้างทางเลือกในการตัดสินใจ ใช้การควบคุมโดยอาศัยข้อตกลงร่วมกันแทนการห้ามหรือกฎระเบียบ
v E 2 : Encouragement หรือการเสริมแรง การสร้างแรงจูงใจให้เกิดแรงขับจากภายในในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ให้เขาเกิดความภาคภูมิใจในความเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม จะใช้เมื่อได้ผ่านขั้นตอนการใช้ E1 แล้วและยังไม่ได้ผล เช่นในกรณีมาสายและไม่มีเหตุผลอันควรหลังจากให้ E1 ไปแล้วยังไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกับพื้นฐานของคนเราที่ว่า “เขายิ่งว่ายิ่งเตือนเหมือนยิ่งยุ เขายิ่งดุยิ่งด่ายิ่งฝ่าฝืน เขายิ่งห้ามยิ่งอยากใส่ปากกลืนที่เขายื่นให้กินไม่ยินดี” การใช้ E2 ต้องควบคู่กับการวิเคราะห์ผู้เรียนว่าเขามีบุคลิกภาพและลักษณะที่ขาดการเห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) มากน้อยเพียงใด เพราะส่วนใหญ่แล้วพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ หรือพฤติกรรมเสี่ยง (Risk behavior) เกิดจากความอยากรู้อยากลอง เกิดจากการต้องการการยอมรับ ความต้องการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวเฉพาะกลุ่มหรือ Identity การให้เขาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม การให้เขาได้เห็นคุณค่าในตนเองจะเป็นพลังทางบวกในการลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้ เช่น กรณีเด็กที่ขาดเรียน ขาดความรับผิดชอบ ควรให้ E2 ด้วย การมอบหมายหน้าที่ให้ทำ เช่น เป็นคนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพื่อน เป็นคนดูแลเรื่องระเบียบวินัย และนอกจากให้บทบาทหน้าที่มอบหมายแล้วควรมีการเสริมแรงด้วยการให้รางวัล เช่น คำชมเชยหน้าเสาธง หรือต่อหน้าที่ประชุม หรือกลุ่มที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมีแนวโน้มก่อความรุนแรง สามารถใช้กิจกรรมสังคมบำบัด เช่น การให้เป็นผู้นำหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกขั้นตอน จะได้ผลดีกว่าการควบคุมและลงโทษ เทคนิคในการใช้ E2 คือ ต้องใจเย็น ๆ ไม่เร่งรีบ ใช้หลากหลายวิธีการควบคู่กันที่สำคัญผู้ดำเนินกิจกรรม ต้องมีความไว้ใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของเขาด้วยใจจริงก่อน
v E 3 : Enforcement หรือการใช้อำนาจในการควบคุมลงโทษ ซึ่งอาจจะเป็นกฎระเบียบ หรือกฎหมาย เป็นลักษณะของการลงโทษในเชิงจิตวิทยา ควรจะใช้ก็ต่อเมื่อ ใช้ E1 และ E2 ไม่ได้ผล ซึ่งนอกจากจะไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมทางบวกยังมีแนวโน้มสร้างความเดือดร้อนรำคาญ และชักนำให้บรรยากาศรอบข้างไม่เกิดการเรียนรู้ แต่มักจะพบว่า สังคมมักจะเลือกใช้วิธีการนี้เป็นอันดับแรก ๆ ก่อนที่จะใช้ E1 และ E2 ให้เกิดผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนก่อน และวิธีการควบคุมหรือลงโทษยังไม่สอดคล้องกับการกระทำ เช่น นักเรียนมาโรงเรียนสายให้ลงโทษด้วยการให้ล้างห้องน้ำ เพราะหากพิจารณาเหตุผลจะเห็นว่า การที่เด็กมาสายส่งผลต่อการเรียนไม่ทันเพื่อน ดังนั้นการลงโทษควรจะสมเหตุสมผลด้วย เช่น การให้กลับบ้านช้าลง หรือการให้ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม หรือในกรณีที่คนทิ้งขยะเรี่ยราดแต่ถูกทำโทษด้วยการให้คัดคำศัพท์ส่ง ซึ่งไม่สมเหตุสมผล การลงโทษควรให้เก็บขยะเพิ่ม หรือทำความสะอาดอาคารสถานที่เป็นต้น
นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น “ครู” “ผู้รู้” หรือ “กูรู้” ทั้งหลายนั้น มีการบรรยายหรือจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ที่หมดงบประมาณไปมากมายแต่ไม่รู้ว่าจะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่หากมองจากดัชนี จำนวนผู้ฟังที่มีมากในช่วงเริ่มต้นและหายไปในช่วงท้าย หรือมีคนนั่งหลับแต่คนพูดก็ยังฝืนพูดไป(เพราะกูเป็นผู้รู้) จึงมีแนวทางสำหรับการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและวัยรุ่น หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นนั้น ควรจะเอา “ซีโฟร์” หรือ C 4 ลงเป็นจุด ๆ (ไม่ใช่เอาระเบิด “ซีโฟร์”ลงบอมส์นะครับ) ซึ่งกระบวนการต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง (risk behv.) เป็นพฤติกรรมเชิงบวก (positive) พฤติกรรมเสี่ยง(Risk behv.) ทั้งหลายนั้นไปตอบสนองต่อทั้ง 4 แนวต่อไปนี้ของวัยรุ่น C 4 ประกอบด้วย
v C1 : Challenging :ความท้าทาย ท้าทายแนวคิด ท้าทายความสามารถ ท้าทายตนเอง ท้าทายกลุ่ม ฯลฯ ทำให้เด็กและเยาวชนได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ เนื่องจากตอบสนองต่อความต้องการทางจิตวิทยาวัยรุ่นเป็นอย่างดี เป็นการสร้างแรงจูงใจจากภายใน
v C2 : Competition : การแข่งขัน ซึ่งอาจเป็นการแข่งขันกับกลุ่ม แข่งขันกับตนเอง ภายใต้ข้อจำกัดบางอย่าง เช่น แข่งกับเวลา แข่งกับกติกา ข้อบังคับ แข่งกับความคิดความรู้สึก แข่งกับความสามารถของตนเองในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ แต่ไม่ควรเป็นการแข่งขันที่ทำลายความสามัคคีของกลุ่ม การใช้กิจกรรมเพื่อการแข่งขันสามารถใช้กิจกรรมประเภทการแข่งขันของกลุ่มได้ด้วย
v C3 : Creativity : การสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการของการผลิตสิ่งใหม่ สิ่งที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือมีคนทำมาแล้วแต่ยังไม่แพร่หลายก็ได้ อย่าจำกัดความคิดของเด็กและเยาวชน ว่าความคิดที่เขาคิดมีคนทำเยอะแล้ว แต่ให้โอกาสเขาได้ลองทำด้วยตนเอง เพื่อทำให้เกิดคุณค่า (value) ซึ่งแทนตัวเขาเอง หรือจะแทนกลุ่มของเขาเอง รวมถึงการเลือกกิจกรรมที่ต้องเป็นกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ไม่ลามก ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ไม่ก่อให้เกิดผลเชิงลบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยเฉพาะบุคคลที่สามที่ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์นั้น ๆ
v C4 : Companionship : ความเป็นเพื่อน ความเป็นกลุ่มเดียวกัน มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หากได้ทำอะไรร่วมกันกับเพื่อนเป็นหมู่คณะแล้วละก็ มันก็จะเกิดการร่วมทุกข์ร่วมสุข ความสนุกสนาน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อาจจะมีจีบกัน กุ๊กกิ๊กกันบ้างตามวัยก็ไม่เป็นไร ควรมองในเรื่องของการพัฒนาอันจะเกิดขึ้นกับลูกหลาน อาทิ เชิงสังคม เชิงแนวคิด เป็นสำคัญ ซึ่งผลดีต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลดีต่อบุตรหลานในระยะยาว นั่นหมายความรวมว่า กิจกรรมหนึ่ง ๆ ที่มีความท้าทาย มีการแข่งขัน มีความสร้างสรรค์แล้ว ยังต้องมีความเป็นเพื่อน มีความรู้สึกที่ดีต่อกันทั้งในระหว่างทำกิจกรรมและหลังจากกิจกรรมสิ้นสุดลง
ในการพิจารณาเลือกกิจกรรมต่างๆ นั้น ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายโดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะต้อง “ตอบโจทย์”ให้ได้ ว่า เราทำอะไร เพื่ออะไร ควรใช้การควบคุมการปฏิบัติงานด้วยหลักการตั้งคำถาม 5 W 1 H คือ What Where When Why Who How โดยขยายความได้ดังนี้
v What : เราจะทำอะไร หรือจัดกิจกรรมอะไรบ้าง
v Where : เราจะทำกิจกรรมที่ไหน ที่สถานที่ใดบ้าง
v When : เราจะจัดกิจกรรมเมื่อใด เวลาใดที่เหมาะสม
v Why : เพราะอะไรหรือมีความจำเป็นใดเราถึงต้องจัดกิจกรรม
v Who : เราจะจัดกิจกรรมให้ใคร ควรมีใครที่เกี่ยวข้องบ้าง บทบาทของแต่ละกลุ่มแต่ละคนต้องทำอะไรบ้างบ้าง
v How : เราจะต้องทำอย่างไรบ้าง มีขั้นตอนแต่ละขั้นตอนอย่างไรทั้งขั้นเตรียม ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุปผล
ในระหว่างทำกิจกรรมใด ๆ ควรประเมินสถานการณ์ว่ากิจกรรมนั้นๆ ลื่นไหลหรือไม่ มีข้อจำกัดหรือไม่ ถ้ากิจกรรมไม่ลื่นไหล ไม่ต่อเนื่องก็อย่าฝืน เพราะจะยิ่งทำให้กระบวนการมันฝืด และอีกเทคนิคหนึ่งก็คือ ควรหยุดกิจกรรมหรือเกม เมื่อมีความสนุกสูงสุด เพราะจะทำให้ผู้ทำกิจกรรมมีความรู้สึกเสียดายและอยากเล่นต่อ ไม่ควรปล่อยให้ผู้ทำกิจกรรมเล่นไปจนถึงจุดอิ่มตัวหรือมีความรู้สึกอยากหยุดเล่นเอง ในการดำเนินกิจกรรมสิ่งจำเป็นอีกอย่างที่ต้องให้เกิดร่วมกัน คือต้องให้ผู้ทำกิจกรรม เกิดการควบคุมตนเอง (Self control) ควบคุมกิจกรรมได้ ถ้าเป็นกลุ่มก็สามารถให้มีกติกาที่ตกลงร่วมกันได้ขณะทำกิจกรรม ถ้าจะมีการควบคุมตนเองได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น ตัวกิจกรรม และกระบวนการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความต่อเนื่องระดับหนึ่ง ไม่ใช่นานทีปีหนจัดอบรมหรือจัดกิจกรรมกันครั้งหนึ่งแล้วหวังผลกันข้ามปีหรือตลอดชีวิต เหมือนที่ทำ ๆ กันทั้งข้ออ้างเรื่อง งบประมาณ เรื่องนโยบาย หรือความพร้อมของหน่วยงาน


หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
คำสำคัญ: การควบคุมการปฏิบัติงาน การจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม การจัดกิจกรรม การฝึกอบรม การศึกษา การศึกษานอกระบบ จิตวิทยา วัยรุ่น วิทยากรกระบวนการ เทคนิคการเป็นวิทยากร
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
สร้าง: อ. 22 เม.ย. 2551 @ 14:08 แก้ไข: อ. 22 เม.ย. 2551 @ 14:08
ที่มาwww.google

การเขียนเว็บเพจ




อินเทอร์เน็ต คือ ระบบที่ต่อคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทั่วโลกนับร้อยนับพันล้านเครื่องเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อนี้ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถส่ง
ข้อมูลหากันได้ ทำให้เกิดบริการต่างๆขึ้นมา เช่น อีเมล์ , การสนทนาออนไลน์ (VoIP) , Chat , การส่งไฟล์หากัน และที่เราใช้งานกันอยู่เป็นประจำคือ
เว็บ
อินเทอร์เน็ต มีต้นกำหนดจากการที่สหภาพโซเวียต USSR สามารถปล่อยดาวเทียมชื่อ Sputnik สู่อวกาศได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการกดดันให้
สหรัฐอเมริกา ต้องสร้างหน่วยงานชื่อ Advanced Research Projects Agency (ARPA) สังกัดกระทรวงกลาโหม ในปี 1958 เพื่อกลับมาเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีอีกครั้ง ซึ่งหน่วยงาน ARPA นี่เองที่ทำให้เกิดระบบอินเตอร์เน็ตขึ้นมา ในปี 1969 โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัย ต่อมาก็ถูกนำมาใช้ในมหาวิทยาลัย โดยเชื่อมต่อระหว่างมหาลัย 4 แห่ง คือ University of California
at Los Angeles ,University of California at Santa Barbara , Stanford Research Institute และ University
of Utah และได้ถูกพัฒนาขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน เกิดเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์นับล้านเครื่องทั่วโลกเข้าด้วยกัน

การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน เราจำเป็นต้องตั้งชื่อคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเหมือนกับชื่อของคน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ด้วยกันรู้ว่าเราต้องการจะสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเครือข่ายกันแน่ ซึ่งด้วยเหตุนี้เองทำให้ต้องใช้ระบบ TCP/IP เพื่อให้ทราบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ชื่ออะไรกันแน่ โดยจะให้ตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน เช่น 202.143.146.68 แทนชื่อของคอมพิวเตอร์นั่นเอง






Web server ความจริงแล้วมีความหมายอยู่ 2 อย่างคือ
1. เป็นโปรแกรม ที่คอยให้บริการในการส่งข้อมูล ต่างโดยใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP)
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในที่นี้เราจะพูดถึงในส่วนนี้กัน

จากที่เราทราบอยู่แล้วว่าอินเทอร์เน็ตคือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลาว่า Host
หรือ เครื่องแม่ข่าย ซึ่งจะทำหน้าที่คอยให้บริการ (service) จ่ายข้อมูลต่างๆ ทำให้บางครั้งเราก็เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้ว่า Server ซึ่ง Server
ของเราเน้นให้บริการเกี่ยวกับเว็บ เราจึงเรียกว่า Web server
ซึ่งในการทำงานเกี่ยวกับเว็บตัว Web server ก็จะส่งข้อมูล (Web page) ที่เราได้สร้างขึ้นมาให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ขอข้อมูล
เช่นเมื่อเราพิมพ์ http://www.chonnfe.com ผ่านโปรแกรม Web browser จากนั้น Web browser ก็จะหาข้อมูลว่าเครื่องใดที่เป็น
Web server ของ http://www.chonnfe.com และเมื่อเจอเครื่องนั้นแล้วก็จะเปิดไฟล์ home page (index) ขึ้นมาแสดงผู้เรียนอาจเคย
ได้ยินชื่อ Web hosting กันบ้างซึ่งเราอาจหมายถึงผู้ที่ให้บริการให้เช่า server นั่นเอง




Domain name (ยกตัวอย่างเช่น http://www.chonnfe.com) เปรียบเสมือนทะเบียนบ้านของเรา ซึ่งจะบอกให้คนอื่นเข้ามาที่บ้านของเราถูกต้อง ดังนั้นจึงซ้ำกันไม่ได้ ในบทนี้เราจะมาดูรายละเอียดของ Domain name กัน
จากเนื้อหาที่ผ่านๆมาทำให้เราทราบว่าคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกันด้วยระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่ง Web server ก็อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ซึ่งการติดต่อกันต้องใช้ IP แทนชื่อของคอมพิวเตอร์แต่ละตัว แล้ว Domain name ละเกี่ยวอะไรด้วย
ความจริงแล้ว Domain name ก็คือ IP Address นั่นเอง ซึ่งเราอาจจะลองพิมพ์ 72.14.235.147 แทนการพิมพ์ http://www.google.co.th ก็สามารถเปิดเว็บ google ได้เช่นเดียวกัน เหตุที่เราต้องใช้ Domain name แทน IP Address เพราะว่า
1. จำได้ง่ายกว่า
2. สามารถสื่อความหมายได้ว่าเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับอะไร
3. เมื่อผู้เรียนย้าย Web server ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อ Domain name

เราอาจงงว่าทำไมเปลี่ยน server แล้วทำไมถึงไม่ต้องเปลี่ยน Domain name เพราะว่า IP address ของเครื่องเปลี่ยน Domain name ก็ต้องเปลี่ยนด้วยสิ ซึ่งจริงแล้วนั้น Domain name เป็นชื่อที่ถูกเก็บไว้ที่ DNS server ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลไม่ให้ชื่อ domain name ซ้ำกัน เหมือนกับ
ทะเบียนบ้านนั่นเอง ซึ่งผู้ดูแลจะรับหน้าที่ในการจด domain name ให้เราโดยเราจะต้องเสียค่าบริการให้กับผู้ดูแลเป็นรายปี ซึ่งผู้ดูแลจะนำชื่อ Domain name
ของเราไปเก็บไว้ที่ DNS server เมื่อมีการเรียกใช้ก็จะบอก IP Address ของเครื่อง Web server ของเราไป ยกตัวอย่าง
เราใช้ Web brower ในการเปิดเว็บ http://www.chonnfe.com Web browser ของเราก็จะส่งข้อมูลไปขอ IP address ของชื่อ
http://www.chonnfe.com จาก DNS server ต่อจากนั้น DNS server ก็จะส่ง IP address ของ Web server เว็บ
http://www.chonnfe.com มาให้ Web browser หลังจากนั้นก็จะทำการติดต่อกับ Web server เพื่อให้ส่งไฟล์มาให้เราต่อไป
โครงสร้างของ domain name เป็นดังนี้
http://www.banbung.chonnfe.com/
โครงสร้างประกอบด้วย 3 ระดับดังนี้
1. โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) ตามตัวอย่างคือส่วน .com
2. โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) ตามตัวอย่างคือ banbung
3. โดเมนย่อย (Sub domain) ตามตัวอย่างคือ sub

โดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่ม ดังนี้
.mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา
.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล
.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย
.edu แทนสถาบันการศึกษา
.org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร
.xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ เช่น .th หมายถึงประเทศไทย

หมายเหตุ คำอ่าน เช่น .com อ่านว่า dot (ดอท) com(คอม) เราไม่อ่านว่า จุด-คอม

ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ
.firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
.store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า
.Web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ
.arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม
.rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ
.info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล
.nom สำหรับบุคคลทั่วไป




FTP เป็นโปรโตรคอลชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายไฟล์ ซึ่งจำเป็นมากในการทำเว็บ เพราะอย่างที่เคยกล่าวไว้ว่าเว็บของเรานั้นประกอบได้ไฟล์ ต่างๆ
มากมาย เช่น ไฟล์ภาพ , ไฟล์ html และอีกมากมายซึ่งเราจำเป็นจะต้องย้ายไฟล์เหล่านั้นไปที่ Web server ของเรา ซึ่งถ้าเราใช้ FTP
เราก็เปิดโปรแกรมขึ้นมาและย้ายไฟล์จากเครื่องของเราไปที่โปรแกรม FTP จากนั้นโปรแกรมก็จะส่งไฟล์ไปที่ Web server ของเราอัตโนมัติ




HTML (Hypertext Markup Language) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมในเว็บเพ็จ เพื่อแสดงผลบนเว็บบราวเซอร์
จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของ HTML คือ ความเป็นเอกสารที่มีความสามารถมากกว่าเอกสารทั่วไป และมีความสามารถแบบ Hypertext คือสามารถเปิด
ดูได้โดยโปรแกรมแก้ไขข้อความต่าง ๆส่วนการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่น ๆ นั้นสามารถทำได้โดยการใส่สัญลักษณ์พิเศษ เข้าไปในเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag)
ซึ่งจะถูกอ่านโดยโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่าง ๆ เช่น IE, Netscape, Opera ฯลฯ




ที่มา www.googlecom

สมุนไพร